บทที่ 9 การวิเคราะห์และแปลงผลสถิติเชิงพรรณนาเบื้องต้น

         สถิติเชิงพรรณนาเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่สำคัญคือ การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้น ซึ่งคำสั่งที่ใช้ในการคำนวณค่าสถิติเบื้องต้นของ SPSS for Windows ได้แก่ การใช้คำสั่ง Frequencies และคำสั่ง Descriptive

9.1 การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้นด้วยคำสั่ง Analyze/Descriptives Statistics
/Frequencies
        การใช้คำสั่ง Analyze/Descriptives Statistics/Frequencies เป็นคำสั่งใช้ในการคำนวณค่าสถิติที่ใช้สำหรับการวัดแนมโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง วัดการกระจายของข้อมูลการสร้างกราฟแบบต่างๆ การใช้คำสั่ง Analyze/Descriptives Statistics/Frequencies ทำได้ดังนี้
        จะขอยกตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติโดยใช้ข้อมูลตัวอย่างจากแฟ้มข้อมูลในหน่วยที่ 7 ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาแห่งหนึ่ง จำนวน 30 คน แฟ้มข้อมูลชื่อ Example1.sav
        ขั้นที่ 1 เปิดแฟ้มข้อมูล Example1.sav ของโปรแกรม SPSS for Windows จะปรากฏหน้าจอ

        ขั้นที่ 2 เลือกคำสั่ง Analyze ที่แถบเมนู แล้วเลือก Descriptives Statistics แล้วเลือก Frequencies จะปรากฏหน้าจอของโปรแกรม SPSS Data Editor

        เมื่อทำการเลือกคำสั่ง Analyze/Descriptives Statistics/Frequencies

        1. ตัวแปรที่จะนำมาทำการวิเคราะห์ช่องใส่ตัวแปรที่เลือก    
        2. กดปุ่มถัดไป ข้อมูลเพื่อหาค่าทางสถิติมาทำการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ
        3. ปุ่มเลือกค่าสถิติ
        4. ปุ่มเลือกสร้างกราฟ
        5. ปุ่มเลือกรูปแบบการสร้างข้อมูล
        จากหน้าจอของ Frequencies เมื่อเลือกที่ปุ่มเลือกค่าสถิติ จะได้หน้าต่าง Frequencies /Statistics

        จะเห็นได้ว่าหน้าต่าง Frequencies: Statistics นี้มีสถิติทั้งหมด 4 กลุ่มคือ
        1. กลุ่มค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentile Value) ทางเลือกต่างๆได้แก่
        ควอไทล์ (Quartile) จะแสดงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25,50 และ 75
        Cut points for equal groups จะแสดงค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่แบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่มย่อยๆที่มีขนาดเท่ากัน (จำนวนแถวข้อมูลเท่ากัน) โดยกำหนดเลขจำนวนเต็ม 2 ถึง 100 ลงในกล่องข้อความ
        Percentile (s) จะแสดงค่าเปอร์เซ็นไทล์ตามที่ต้องการได้หลายค่า ตามที่กำหนดลงในกล่องข้อความทีละค่า คลิกที่ปุ่ม Add ถ้าต้องการลบให้คลิกจากแถบค่าคงที่ แล้วคลิกปุ่มRemove แต่ถ้าต้องการแก้ไขให้คลิกที่ปุ่ม Change
        2. กลุ่มที่ใช้วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Central Tendency) ทางเลือกต่างๆได้แก่
        Mean         หมายถึง      ค่าเฉลี่ย
        Median      หมายถึง      ค่ามัธยฐาน
        Mode                หมายถึง      ฐานนิยม
        Sum          หมายถึง      ผลรวมของข้อมูล
        3. กลุ่มการวัดการกระจาย (Dispersion) ทางเลือกต่างๆได้แก่
        Std. Deviation     หมายถึง      ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        Variance             หมายถึง      ค่าความแปรปรวน
        Range                        หมายถึง      ค่าพิสัย
        Minimum           หมายถึง      ค่าต่ำสุดของข้อมูล
        Maximum           หมายถึง      ค่าสูงสุดของข้อมูล
        S.E. mean           หมายถึง      ค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าเฉลี่ย
        4. กลุ่มที่ใช้แจกแจงข้อมูล (Distribution) ทางเลือกต่างๆได้แก่
        Skewness   หมายถึง      ค่าความเบ้ของการแจกแจงข้อมูล
        Kurtosis     หมายถึง      ค่าความโด่งของการแจกแจงข้อมูล
        จากหน้าจอของ Frequencies เมื่อเลือกที่ปุ่มเลือกสร้างกราฟ (Chart) จะได้หน้าต่างของ Frequencies/Chart

        ซึ่งสามารถเลือกกราฟได้ดังนี้
        -กราฟแท่ง (Bar chart)
        -กราฟวงกลม (Pie chart) 
        -ฮิสโตแกรม (Histograms)
        ในการเลือกกราฟชนิดฮิสโตแกรม (Histograms) ถ้าต้องการแสดงผลร่วมกับโค้งปกติให้คลิกที่ Width normal curve ด้วย
        จากหน้าจอของ Frequencies เมื่อเลือกที่ปุ่มรูปแบบการสร้างข้อมูล (Format) จะได้หน้าต่าง Frequencies/Format

        ในส่วนของ Frequencies/Format แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ
        1. Order by จะเป็นการเลือกวิธีการแสดงผลแบบใดแบบหนึ่ง 4 แบบคือ
                Ascending Values แสดงผลเรียงลำดับตามค่าตัวแปรจากน้อยไปมาก
                Descending Values แสดงผลเรียงลำดับตามค่าตัวแปรจากมากไปน้อย
                Ascending Counts แสดงผลเรียงลำดับตามความถี่จากน้อยไปมาก
                Descending Counts แสดงผลเรียงลำดับตามความถี่จากมากไปน้อย
        2. Multiple Variables ใช้ในกรณีที่มีหลายตัวแปร จะช่วยจัดการเกี่ยวกับการเสนอผลของตัวแปรหลายๆตัว จะมีทางเลือกให้เลือกแบบใดแบบหนึ่งคือ
        Compare Variables ใช้เมื่อต้องการตัวแปรทั้งหมดในตารางเดียวกัน
        Organize Output by Variables ใช้เมื่อต้องการแสดงผลแยกตารางในแต่ละตัวแปร
        3. Suppress Tables with many categories เป็นการให้กำหนดจำนวนรายการลงในกล่องข้อความ เพื่อให้แสดงผลการแจกแจงความถี่ของข้อมูลในตารางไม่เกินจำนวนรายการที่กำหนด และถ้ามีรายการแสดงผลมากเกินจำนวนรายการที่กำหนด โปรแกรมก็จะไม่แสดงผลออกมา
        ขั้นที่ 3 เมื่อเลือก Analyze/Descriptives Statistics/ Frequencies จะปรากฏหน้าจอของโปรแกรม SPSS Data Editor

        ทำการเลือกตัวแปรที่ต้องการหาค่าทางสถิติที่อยู่ช่องทางด้านซ้าย ในตัวอย่างมีตัวแปร 6 ตัว คือ SEX, AGE, EDUC, GRADE, COLOR และ ADDR จะยกตัวอย่างการหาค่าสถิติของตัวแปร SEX
        ขั้นที่ 4 เลือกคลิกที่ตัวแปร SEX แล้วคลิกที่ปุ่มถัดไป ตัวแปร SEX จะถูกส่งไปที่ช่อง Variable(s)

        ขั้นที่ 5 คลิกที่ปุ่ม Statistics.. 

         จะต้องเลือกสถิติที่เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลมาตรการวัด ซึ่งเพศ (SEX) จัดอยู่ในมาตรานามบัญญัติ สถิติที่ใช้วัดการกระจายจึงเลือก ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าสูงสุด(Maximum) สถิติที่ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางจะเลือกฐานนิยม (Mode)
               คลิกที่ Minimum ตามด้วย Maximum และ Mode จะได้หน้าจอดังรูป

เมื่อดำเนินการเลือกค่าสถิติที่ต้องการแล้ว ให้คลิกปุ่ม Continue โปรแกรมก็จะกลับไปที่หน้าจอของ Frequencies แล้วคลิก OK จะได้ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนของ SPSS Viewer ดังแสดงในหน้าจอ


9.2 การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้นด้วยคำสั่ง Analyze/Descriptives Statistics/Descriptives
               การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้นด้วยคำสั่ง Analyze/Descriptives Statistics/Descriptives เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคำนวณค่าสถิติที่ใช้สำหรับการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง วัดการกระจายของข้อมูล การสร้างกราฟแบบต่างๆการใช้คำสั่ง Analyze/Descriptives Statistics/Descriptives ทำได้ดังนี้
        จะขอยกตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติโดยใช้ข้อมูลตัวอย่างจากแฟ้มข้อมูลเดิมข้างต้น ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาแห่งหนึ่ง จำนวน 30 คน แฟ้มข้อมูลชื่อ Example1.sav
        ขั้นที่ 1 เปิดแฟ้มข้อมูล Example1.sav ของโปรแกรม SPSS for Windows จะปรากฏหน้าจอ

        ขั้นที่ 2 เลือกคำสั่ง Analyze ที่แถบเมนู แล้วเลือก Descriptives Statistics แล้วเลือก Descriptives จะปรากฏหน้าจอของโปรแกรม SPSS for Windows

        เมื่อทำการเลือกคำสั่ง Analyze/Descriptives Statistics/Descriptives

        1. ตัวแปรที่จะนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสถิติ
        2. ช่องใส่ตัวแปรที่เราเลือกมาทำการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ
        3. ปุ่มเลือกค่าสถิติ
        เมื่อทำการเลือกตัวแปรที่ต้องการหาค่าทางสถิติที่อยู่ในช่องทางด้านซ้าย ในตัวอย่างมี 6 ตัวแปร คือ SEX, AGE, EDUC, GRADE, COLOR และ ADDR จะยกตัวอย่างการหาค่าสถิติของตัวแปร GRADE
        ขั้นที่ 3 เลือกคลิกที่ตัวแปร GRADE แล้วคลิกที่ปุ่มถัดไป ตัวแปรเกรดจะถูกส่งไปที่ช่อง Variable(s)

        ขั้นที่ 4 จากหน้าจอ Descriptives ในการเลือกค่าสถิติจะเลือกที่ปุ่ม Options จะได้หน้าจอ Descriptives/Options

        ทำการเลือกค่าสถิติที่ต้องการ ได้แก่ Mean, Std. devition, Minimum, Maximum, Range จะได้หน้าจอ Descriptives/Options

        ขั้นที่ 5 เมื่อเลือกค่าสถิติที่ต้องการแล้วให้คลิกที่ Continue ก็จะกลับเข้าสู้หน้าจอ Descriptives ให้คลิก OK  จะได้ผลลัพธ์ในส่วนของ SPSS Viewer

        ข้อควรสังเกต ในการคำนวณค่าสถิติเชิงพรรณนาเบื้องต้น สามารถใช้ได้ทั้งคำสั่ง Frequencies และคำสั่ง Descriptives ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจะแสดงผลเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่คำสั่ง Descriptives จะไม่แสดงการแจกแจงความถี่ ส่วน Frequencies จะแสดงการแจกแจงความถี่นั้นด้วย

9.3 การสร้างกราฟและการเลือกรูปแบบของกราฟ
ในการสร้างกราฟและการเลือกรูปแบบจะอยู่ในส่วนของคำสั่ง Frequencies ซึ่งสามารถเข้าสู่หน้าจอของการสร้างกราฟได้ดังนี้
  ขั้นที่ 1 เปิดแฟ้มข้อมูล Example1.sav เข้าสู่ SPSS Data Editor 

 แล้วเลือกคำสั่ง Analyze/Descriptives/Frequencies จะปรากฏหน้าจอ

ขั้นที่ 2 เลือกตัวแปรที่ต้องการจะสร้างกราฟและรูปแบบของกราฟในที่นี้จะสร้างมาทำการสร้างกราฟโดยคลิกที่ตัวแปร GRADE แล้วเอาออกมาไว้ช่อง Variables(s) 

ขั้นที่ 3 เลือกที่คำสั่ง charts เพื่อจะทำการสร้างกราฟแล้วเลือกชนิดของกราฟซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดคือ กราฟแท่ง กราฟวงกลมและฮิลโตแกรม ในที่ต้องการแสดงฮิลโตแกรม(Histograms) และต้องการแสดงผลร่วมกับเส้นโค้งปกติ ให้คลิกเลือกที่ Show Normal Curve on Histograms หน้าจอ 
     
ขั้นที่ 4 เมื่อเลือกรูปแบบชนิดของกราฟเรียบร้อยแล้ว ก็คลิกที่ปุ่ม Continue ก็จะกลับไปยังหน้าจอของ Frequencies ดังเดิม

แล้วทำการคลิกที่ปุ่ม OK บนหน้าจอของ Frequencies ก็จะได้กราฟชนิดของฮิสโตแกรมและมีเส้นโค้งปกติของตัวแปร GRADE บนหน้าจอของ SPSS Viewer

ถ้าจะเลือกการแสดงผลเป็นกราฟวงกลม ให้กลับไปยังขั้นตอนที่ 3 แล้วเลือกที่ Pie Charts ดังแสดงผลบนหน้าจอ

     ให้คลิกที่ปุ่ม ก็จะกลับไปยังหน้าจอของ Frequencies แล้วทำการคลิกที่ปุ่ม OK บนหน้าจอของ Frequency ก็จะได้กราฟวงกลมของตัวแปรGRADE บนหน้าจอของ SPSS Viewer 

ไม่มีความคิดเห็น: